ภาพถายทางอากาศ (aerial photograph) เปนภาพที่ถายจากทางอากาศในระบบ
ทางออม โดยวิธีการเอากลองถายรูปติดไปกับอากาศยาน แลวบินไปเหนือภูมิประเทศบริเวณที่จะทําการถายภาพ แลวเปดหนากลอง เพื่อปลอยใหแสงสะทอนจากสิ่งตางๆ ที่ปรากฏอยูในภูมิประเทศเบื้อง
ลาง เขาสูเลนซกลองถายรูปไปจนถึงแผนฟลม จุดที่เปดหนากลองตองเปนไปตามตําแหนง ทิศทาง
และความสูงของการบินที่ไดวางแผนไวกอนแลว หลังจากนั้น จึงนําฟลมไปลางและอัด ก็จะไดภาพซึ่งมี
รายละเอียดตางๆ บนพื้นที่ภูมิประเทศในบริเวณที่ทําการถายรูปนั้นปรากฏอยู
การประยุกตใชภาพถายทางอากาศ
การแปลภาพถายทางอากาศสามารถนําไปประยุกตใชไดในหลายสาขา ที่ใชกันมาก คือการใชเปนพื้นฐาน ในการแปลสภาพการใชที่ดิน และทําแผนที่การเปลี่ยนแปลงการใชที่ดินในเวลา
ตางๆ ในบางประเทศที่กําลังพัฒนา ที่ไมมีขอมูลในดานประชากร หรือทรัพยากร ภาพถายสามารถ
นําไปใชในการคาดคะเนจํานวนประชากรใหถูกตองมากขึ้น โดยการคาดคะเนจาก จํานวน และความ
หนาแนนของบานเรือน ภาพถายทางอากาศยังชวยในการจัดการเกี่ยวกับการขนสง โดยการจําแนก
ชนิดของรถ การไหลของรถ ปญหาการจอดรถบนถนนในเมือง หรือคาดคะเนสถานที่จอดรถ และอื่นๆ
ภาพถายทางอากาศมีสวนอยางมาก ในการคํานวณความเสียหายหลังการเกิดสาธารณ
ภัยตางๆ เชน หลังน้ําทวม แผนดินไหว มีสวนชวยในการบรรเทาสาธารณภัย บริษัทประกันภัยใชใน
การคํานวณเพื่อจายคาชดเชยใหแกผูเสียหายตางๆ
การแปลภาพถายทางอากาศ ใชกันมากในงานเกี่ยวกับการจัดผังเมือง และกําหนดพื้นที่
เพื่อเปนสถานที่ราชการ หรือการทําธุรกิจ เชน สถานที่ตั้งโรงเรียน หองสมุด และอื่นๆ โดยการกําหนด
หลักเกณฑตางๆ ซึ่งใชในการกําหนดพื้นที่ที่ตองการ ในทํานองเดียวกันการแปลภาพถายทางอากาศ
ยังชวยในการคัดเลือกพื้นที่ที่ควรหลีกเลี่ยงไดในการวิเคราะหเบื้องตน เชน จําแนกพื้นที่ที่ไมอาจนําไป
พัฒนาไดซึ่งไดแก พื้นที่ที่ความลาดชันสูง พื้นที่ที่เปนดินอินทรียบริเวณกันชนแมน้ํา ชายฝง พื้นที่ที่มี
ความออนไหวทางดานนิเวศ พื้นที่ที่มีความขัดแยงในการใชที่ดิน พื้นที่ที่เปนเกษตรชั้น 1 หรือ ชั้น 2 ผู
แปลภาพถายที่มีประสบการณสามารถกําหนดพื้นท่ีจํากัดเหลานี้ไดอยางรวดเร็วในภาพถาย ถึงแมวา
ในปจจุบันไดมีการใชเทคนิคทางดานสารสนเทศทางภูมิศาสตรมาใชในงานแบบนี้กันมาก แตการแปล
โดยตรงจากภาพถาย บอยครั้งจะทําไดรวดเร็วกวาการใชเวลาไปพัฒนาฐานขอมูลใหม
ความไดเปรียบของการใชภาพถายทางอากาศเมื่อเทียบกับ การสํารวจในภาคสนาม
• การวัดจากภาพถายงายกวาการทํางานรังวัดในภาคสนาม โดยเฉพาะอยางยิ่งในพื้นที่หางไกล
และกันดาร
• ภาพถายทางอากาศทําใหเห็นความสัมพันธของพื้นที่ ที่ซึ่งโดยปกติจะมองไมเห็นใน
ภาคพื้นดิน
• การใชภาพจะลดคาใชจายไดอยางมากในการทํางานภาคสนาม พรอมทั้งสามารถขยายพื้นที่
และความรวดเร็วในการทําแผนที่ขนาดใหญ
• การใชภาพถายตองคํานึงถึงอยูเสมอวาบริเวณขอบภาพจะมีมาตราสวน และคลาดเคลื่อนจากความเปนจริงบาง
เทคโนโลยีการถ่ายภาพทางอากาศในปัจจุบัน
ในสมัยก่อน ยุคแรกของการสำรวจระยะไกลได้มีการใช้บอลลูนเพื่อการถ่ายภาพถ่ายทางอากาศ
หลังจากสองพี่น้องตระกูลไรท์ได้สร้างเครื่องบินมา ก็มีการนำเครื่องบินมาใช้ในการสำรวจ และ ทำแผนที่ โดยการถ่ายภาพถ่ายทางอากาศมีการใช้กันมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่1-2 เมื่อหมดสงครามโลกได้เป็นยุคของการสำรวจทางอวกาศ ในปัจจุบันกันถ่ายภาพถ่ายทางอากาศเพื่อดูพื้นที่โดยรอบหรือสำรวจเพื่อการใช้งานไม่ใหญ่มาก ได้มีการนำเครื่องบินไร้คนขับมาทำการถ่ายภาพถ่าย
ที่มา
http://natres.psu.ac.th/index_n.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น